...เมื่อเบ็ดติดอุปสรรคใต้น้ำ.........
พอดีไปอ่านเจอบทความดีดี ที่คุณ F4U เขียนเอาไว้มีประโยชน์มาก เลยขออนุญาติเอามาให้อ่านกันครับบทความนี้เราจะกล่าวกันถึงกรณีเบ็ดติดตอ หรืออุปสรรคใต้น้ำครับ หลายครั้งที่ออกตกปลาเราคงหลีกเลี่ยงเรื่องดังกล่าวได้ยากยิ่ง ไม่กว่าจะตะกั่วติดหิน หรือเบ็ดติดตอ อาจจะเนื่องด้วยปลาลากเข้าไปยังสิ่งที่เป็นอุปสรรคใต้น้ำต่าง ๆ เอาล่ะซีครับทีนี้ เมื่อเกิดเหตุขัดข้องเสียแล้วเราจะทำอย่างไรกันดี ??? โดยปกติ ไม่ว่านักตกปลาจะใช้ชุดอุปกรณ์ที่เป็น ชุดสปินนิ่ง หรือเบทแคสติ้ง เมื่อเบ็ดติดกับอุปสรรคแล้ว นิยมที่จะปิดหน้ารอกให้แน่นที่สุดแล้วดึงกันโดยออกแรงสุด ๆ ด้วยการเหยียดคันเบ็ดตรง ๆ ใช่ไหมครับ วิธีการนี้ผมว่าเป็นวิธียอดฮิตของนักตกปลา เพราะผมเองก็เคยใช้วิธีนี้เช่นกัน เนื่องด้วยวิธีการดังกล่าว อาจนำมาซึ่งความเสียหายของชุดอุปกรณ์ได้ ผมจึงได้กล่าวถึงเหตุและผลให้ลองพิจารณาปรับใช้กันครับ เมื่อลองพิจารณาถึงข้อระบุ หรือคุณสมบัติของชุดอุปกรณ์แล้วเราจะพบว่า หลายครั้งที่เราใช้งานชุดอุปกรณ์เกินข้อระบุนั้น ๆ ไปมากครับ เช่นคันเบ็ดระบุว่าเหมาะกับสาย แรงดึงสูงสุด 16 ปอนด์ บางทีเราก็ใส่เสีย 25 ปอนด์เป็นต้น ทั้งนี้จะว่าผิดเสียเต็ม ๆ ก็คงไม่ได้ครับ เพราะโอกาศในการได้ยลโฉมปลา หรือแม้แต่อุปสรรคใต้น้ำ ในแหล่งปลาที่เราตกอาจเป็นข้อที่ต้องนำมาพิจารณาด้านการเลือกใช้อุปกรณ์ ทีนี้ถ้าปิดรอกกันสุด ๆ ยังดึงไม่ออกสายยังไม่ขาด หากไม่ชี้ปลายคันตรง คันของเราก็อาจมีการอวสานก่อนเวลาอันควรครับ ข้อเสียของการปิดเบรครอกอย่างเดียวคงมีไม่มากเท่าการใช้มือกดสปูลเพื่อหยุดสายร่วมด้วยครับ การใช้มือปิดหน้ารอก หรือกดสปูลไว้เพื่อไม่ให้สายไหลออกได้นี้ เป็นการใช้งานเกินข้อระบุด้านคุณสมบัติ รอกเป็นอย่างยิ่ง ผมขอยกตัวอย่าง รอกตกปลาสปินนิ่ง ระบุขนาดสายสูงสุด 14 ปอนด์ ถ้าใส่แรงดึงเกินมาก ๆ เช่น 20 ปอนด์ หรือ 25 ปอนด์ หากเกิดติดอุปสรรคใต้น้ำ แล้วเราปิดระบบหน่วงสายแน่นสุด พร้อมกันนี้ชึ้ปลายคันตรง เพื่อป้องกันคันเบ็ดหัก หรือเพื่อให้ได้แรงดึงสูงสุดในการดึงสายให้ออกจากอุปสรรคใต้น้ำที่ปลายสายไปติดอยู่ ร่วมกับการใช้มือกดสปูลไว้ไม่ได้สายไหลออกได้ เราจะพบว่าแรงที่กระทำเกือบทั้งหมดจากการดึงสายที่มีต่อชุดอุปกรณ์นี้ จะอยู่ที่โรลเลอร์ พาดสายของรอกสปินนิ่งครับ เมื่อเกินข้อกำหนดใช้งานมาก ๆ อาจนำความเสียหายมาสู่รอกตกปลาได้ก่อนเวลาอันควร รอกเบทแคสติ้ง ก็เช่นเดียวกันครับ หลายท่านคงสังเกตุได้ว่า อุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มีน้ำหนักเบาลง แกนของสปูลก็เล็กลง ทั้งนี้บริษัทผุ้ผลิตได้ระบุข้อใช้งานที่เหมาะสมมาแล้ว เราอาจหาดูได้จากจากคู่มือในกล่องรอกที่ได้รับมา สิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้คือ เรื่องของน้ำหนักเบรคครับ น้ำหนักเบรคนี้ คือน้ำหนักที่รอกตัวนี้จะสามารถปิดเบรคเพื่อรองรับการหมุนฟรีสายเบ็ดของสปุลได้นั่นเอง หากพิจารณาอย่างเดียวกันกับรอกสปินนิ่ง เรื่องของแกนงอ หรือสปูลคด เสียศูนย์ อาจมีได้ง่าย ๆ เพราะการปิดเบรคที่เกินกว่าสเปคข้อระบุการใช้งานของรอกไปมาก ๆ ครับ หลายท่านโมดิไฟล์ หรือปรับแต่งเรื่องระบบหน่วงสายของรอกตกปลา ผมว่าก็ดีถ้าทำแล้วลื่นขึ้นไม่สะดุด แต่ถ้าอัดปลาแล้วปิดเบรคไว้แน่น บางท่านตกปลาบึก กลัวปลาว่ายเข้าใต้แพบ้าง ว่ายไปไม่หยุดบ้าง เพราะระบบหน่วงสายเอาไว้ไม่อยู่ เนื่องด้วยปลาใหญ่ สายที่ใส่ก็ใหญ่พอสมควร เมื่อสายไม่ขาด ก็ไหลออกไปเรื่อยๆ เพราะปลาใหญ่ดึงครับ นักตกปลาบางท่านจึงใช้มือกดสปูลเพื่อหยุดการหมุนของรอก โดยลืมนึกเรื่องการใช้งานเกินกว่าข้อระบุของอุปกรณ์ไปครับ รอกยี่ห้อดี ชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่นิยมของคนไทย จึงได้แกนงอให้เป็นที่คุยกันของนักตกปลาทั่วไป เรื่องนี้ผมอยากให้เป็นอุทาหรณ์ว่า ไม่ใช่อุปกรณ์ไม่ดี แต่หากเราใช้งานไม่เหมาะสมแล้ว อาจนำความเสียหายมาให้ชุดอุปกรณ์ตกปลาได้ก่อนเวลาอันควร แล้วจะดึงเบ็ดออกจากอุปสรรคใต้น้ำอย่างไรดี ? ส่วนนี้จากประสพการณ์และสอบถามผู้ชำนาญด้านเบ็ดติดตอ อิ ๆ ได้สรุปผลว่า เราควรทดสอบดูก่อนครับว่าระบบเบรคอย่างเดียว กับการเหยียดปลายคันตรง ๆ ดึงออกหรือไม่ หากปิดแน่นแล้ว ดึงแล้วไม่หลุด ขออย่าได้ใช้มือจับ หรือกดสปูลไว้ไม่ไห้หมุนครับ อันตราย!!! ให้ทำดังนี้ครับ วางคันเบ็ดไว้ หรือถือคันเบ็ดในมือที่ไม่ถนัด จากนั้นให้หาผ้ารองมือ อาจเป็นเสื้อที่ใส่อยู่ก็ได้ครับ รวบ ๆ เอาชายเสื้อมาลองมือไว้ จากนั้นใช้มือดึงสายแท่นครับผม ถ้าจะขาดก็ขาดคามือดีกว่าให้รอกกับคันต้องรับความเสี่ยงเรื่องความเสียหายครับ สำหรับกรณีปลาพาไปพันอุปสรรคใต้น้ำ คงต้องเตรียมบางอย่างเพื่อป้องกันความผิดพลาดไว้นิดนึงครับ กล่างคือก่อนอื่นเปิดหน้ารอกหรือเบรค เผื่อปลาดึงออกตอนเรากำลังดึงสาย เบ็ดจะได้ไหม่โดนดึงตกน้ำไปด้วย ที่สำคัญ ไม่ควรใช้สายพันมือเวลาดึงให้ออกจากอุปสรรคครับ เพราะถ้าปลาหลุดก่อนแล้วว่ายดิ่ว ๆ ๆ ทีนี้มือเราก็จะโดนสายเบ็ดรัด โอ๊ย ๆ คงไม่ต้องบรรยาเน๊อะ ๆ เราควรหาวัสดุอื่น ๆ ที่มีลักษณะแท่ง ๆ หรือผ้าหนาก็ได้ครั พันสายไว้อย่างเดียว แล้วเราดึงจากวัสดุนั้นอีกทีหนึ่ง จะปลอดภัยทั้งชุดอุปกรณ์สุดรัก และมือของเราอีกด้วย ใครคิดเห็นอย่างไร หรือมีวิธีการไหนเด็ด ๆ โพสบอกกันบ้างนะครับ เพราะว่าเราต้องการให้เรื่องราวดี ๆ วิธีการที่ดีที่สุดเสนอสู่เพื่อนนักตกปลาด้วยกัน ครับกระผม....
No comments:
Post a Comment